1. เหรียญชาวเขา (พช) จ.เพชรบูรณ์ แท้ % โคท 047547 หายากสร้าง 1542 เหรียญ (ร9 พระราชทานให้ชาวเขาใช้แทนบัตรประชาชน) สภาพสวย
เหรียญพระราชทานชาวเขา (พช) จังหวัดเพชรบูรณ์ โคท 047547 หายากสร้าง 1542 เหรียญ (พระราชทานให้ชาวเขาใช้แทนบัตรประชาชน)สภาพสวย **สินค้าตรงตามภาพ รับประกันแท้สากล** เหรียญพระราชทานชาวเขา (ชม) จังหวัดเพชรบูรณ์ เลขเริ่มต้น 046359 ถึง 047900 รวมจํานวนผลิต 1542 เหรียญ ลักษณะ เหรียญกลม มีห่วง ขอบเรียบ ด้านหน้า ป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ครึ่งพระองค์ ผินพระพักตร์เบื้องซ้าย รอบริมขอบเหรียญมีข้อความว่า ‘ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙’ ด้านหลัง เป็นแผนที่ประเทศไทย ริมขอบด้านบนมีข้อความ ‘เหรียญที่ระลึกสําหรับชาวเขา’ ส่วนตรงกลางคือตัวย่อ จังหวัด (มีทั้งตอก และ ไม่ตอก ตัวย่อ ของจังหวัด) ตามด้วยเลขโค้ด เนื้อ อัลปาก้า ขนาด 3 เซ็น เมื่อกว่า 40 ปีก่อน ประเทศไทยประสบปัญหายาเสพติด และการปลูกพืชไร่เลื่อนลอยของชาวเขาทางภาคเหนือ อีกทั้ง ยังเป็นช่วงสงครามความเชื่อเรื่อง คอมมิวนิสต์ ที่ลามไปทั่วภูมิภาคอาเชี่ยน ด้วยพระราชอัจฉริยภาพที่กว้างไกล ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงต้องการให้ชาวเขาสามารถ ยืนได้ด้วยตัวเอง และหยุดการอพยพย้ายถิ่นฐาน เพื่อลดปัญหาเหล่านี้ พระองค์จึงได้เสด็จฯ ทรงเยี่ยมเยือนพสกนิกรชาวเขาเผ่าต่างๆ หลายครั้งหลายจังหวัด โดยทุกครั้งจะทรงนําการเพาะปลูกพืชผักเมืองหนาวไปแนะนําให้ชาวเขา ทําให้สงครามการปลูกยาเสพติด และการทําไร่เลื่อนลอยในเมืองไทยุติลงได้ ขณะเดียวกัน เมื่อ พ.ศ.2549 การแก้ปัญหาอันเกิดจากการตกสํารวจของชาวเขา ซึ่งเป็นคนไทยจํานวนหนึ่งที่ไม่มีตัวตนในทางกฎหมาย ได้เดินทางก้าวไกลข้ามยุคสมัยมาสู่ยุคดิจิตอล จึงมีการรวบรวมจํานวนชาวเขาที่ประสบปัญหาต่างๆ และผู้ที่มีสิทธิได้รับสัญชาติไทย มาเก็บรวมไว้ในฐานข้อมูลเพื่อการจัดการ และดําเนินการเรื่องของสัญชาติไทยให้กับคนที่ยังไร้สัญชาติต่อไป ในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้สร้าง “เหรียญที่ระลึกสําหรับชาวเขา” ด้านหน้าเป็นพระบรมรูป ร.9 ด้านหลังเป็นรูปแผนที่ประเทศไทย โดยมีการตอกชื่อย่อจังหวัด และหมายเลขประจําตัวลงในแต่ละเหรียญ เพื่อใช้เป็นหมายเลขประจําตัวสําหรับชาวเขาแต่ละคน พระองค์ได้ทรงนําเหรียญเหล่านี้ไปพระราชทานแก่ชาวเขาตามจังหวัดต่างๆ ประมาณ 20 จังหวัด รวมทั้งหมดกว่า 200,000 เหรียญ โดยทุกเหรียญจะมีอักษรย่อของแต่ละจังหวัดตอกอยู่ที่ด้านหลังเหรียญ พร้อมทั้งมีหมายเลขประจําเหรียญตอกกํากับอีกด้วย ดังนี้ 1 กําแพงเพชร (กพ) 2 ประจวบ (ปข) 3 เพชรบุรี (พบ) 4 เลย (ลย) 5 ลําพูน (ลพ) 6.อุทัยธานี (อน) 7 เพชรบูรณ์ (พช) 8 พิษณุโลก (พล) 9 ราชบุรี (รบ) 10 ลําปาง (ลป) 1 1 น่าน (นน) 1 2 ตาก (ตก) 1 3 เชียงราย (ชร) 1 4 แม่ฮ่องสอน (มส) 1 5 เชียงใหม่ (ชม) 1 6 ไม่ตอก สุโขทัย (สท) หายากมาก ส่วนอีก 4 จังหวัดที่มีชาวเขาแต่ไม่มีข้อมูลเหรียญ คือ 1.กาญจนบุรี 2.แพร่ 3.สุพรรณบุรี 4.พะเยา (รวมอยู่ใน จ.เชียงราย สมัยนั้นยังไม่แยกออกเป็นจังหวัด) เหรียญที่ระลึกสําหรับชาวเขา จึงถือเสมือนหนึ่งเป็นบัตรประจําตัวประชาชน สําหรับชาวเขาพกพาไปตามที่ต่างๆ แสดงว่าได้มีการขึ้นทะเบียนสัญชาติไทยแล้ว ต่อมาเมื่อความเจริญของบ้านเมืองก้าวหน้าขึ้น จึงได้มีการสํารวจสัมมะโนประชากรชาวเขาอย่างทั่วถึง ทําให้ชาวเขาเผ่าต่างๆ ได้รับสัญชาติไทยอย่างถูกต้อง ความจําเป็นในการใช้ “เหรียญที่ระลึกสําหรับชาวเขา” ก็หมดไป อย่างไรตาม ทุกวันนี้ “เหรียญที่ระลึกสําหรับชาวเขา” ได้กลายเป็นของสะสมสําหรับวงการพระเครื่องในท้องถิ่น และทั่วไปแล้ว ในชั่วโมงนี้ เพราะนอกจากเป็นข