1. สมเด็จบางขุนพรหมกรุเจดีเล็ก(พิมพ์ใหญ่ วัดใหม่อมตรส
พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิมีหู สมเด็จโต วัดระฆัง รุ่นขรัวโต 241 1 สมเด็จพอท่านคล้าย รุ่นรวยล้นฟ้า พระสมเด็จบางขุนพรหมเส้นด้าย จี้ ห้อย คอ แฟชั่น ผู้หญิง พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่บางขุนพรหม กรุเจดีย์เล็ก บางขุนพรหม กรุงเทพฯ ขึ้นคราบกรุปะปรายทั่วทั้งองค์ มาพร้อมตลับบุกัมมะหยี่สี่แดงระบุชื่อวัด พุทธคุณสุดยอดเมตตามหานิยมครบเครื่อง รายละเอียด สมเด็จบางขุนพรหม กรุเจดีย์เล็ก ย้อนหลังไปประมาณ 130 ปี ในปี พ ศ 2413 เจ้าประคุณสมเด็จโตได้ประกอบพิธีปลุกเสกพระทั้งหมดด้วยตัวท่านเอง ก่อนบรรจุลงในกรุเจดีย์วัดบางขุนพรหม ซึ่งประกอบด้วยเจดีย์ใหญ่และเจดีย์เล็กรายล้อมอยู่ 4 ทิศ อีก 8 องค์ ซึ่งบรรดาท่านผู้รู้มักจะกล่าวถึงแต่การบรรจุพระลงในกรุเจดีย์ใหญ่ ซึ่งกรุเจดีย์เล็กน่าจะได้รับการบรรจุพระลงกรุในคราวเดียวกัน เพราะเมื่อกรุแตก และได้มีการนําพระทั้งสองกรุ มาพิจารณาเปรียบเทียบเนื้อหา มวลสาร ตลอดจนคราบกรุ และลงความเห็นว่าอายุการสร้างพระสมเด็จกรุเจดีย์เล็ก อยู่ในระหว่างปี พ ศ 2412-2413 ปีเดียวกับการสร้างพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมกรุเจดีย์ใหญ่ เพียงแต่ต่างพิมพ์ทรง และแยกบรรจุคนละกรุ พิธีปลุกเสกย่อมจะเป็นคราวเดียวกัน สมเด็จบางขุนพรหมกรุเจดีย์เล็ก แบ่งออกเป็น 6 พิมพ์ ได้แก่ 1 พิมพ์ฐานคู่ 2 พิมพ์เจดีย์ดอกไม้ร่วง 3 พิมพ์สามเหลี่ยมหน้าหมอน 4 พิมพ์ยืนประทานพร 5 พิมพ์ไสยาสน์ 6 พิมพ์เจดีย์แหวกม่าน พระเครื่องเนื้อผง พระเครื่องเนื้อผงพุทธคุณ ซึ่งได้รับการยอมรับและยกให้เป็นจักรพรรดิ์ของพระเครื่อง นั่นก็คือที่สร้างโดย ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี อมตะเถระแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งท่านได้รังสรรค์สร้างพระเครื่องประเภทพระสมเด็จชิ้นฝัก สร้างขึ้นมาจากเนื้อผงพุทธคุณ กรรมวิธีในการสร้างพระเครื่องประเภทเนื้อผง สําหรับพระเครื่องเนื้อผงนั้น มวลสารหลักที่ใช้ในการจัดสร้างได้แก่ ปูนเปลือกหอย ซึ่งการสร้างพระเครื่องจากเนื้อผงนี้ถือเป็นศิลปแขนงหนึ่งในเชิงช่างการปั้นปูน ซึ่งปูนที่นํามาปั้นเป็นพระเครื่องเนื้อผงนั้นหลักๆ ก็มาจากเปลือกหอยและประสานเนื้อหามวลสารต่างๆ ด้วย ยางไม้ น้ําอ้อย หรือขี้ผึ้งชั้นดี สําหรับพระเครื่องเนื้อผงที่มีอายุเก่าแก่มากที่สุดที่สามารถหาข้อมุลได้นั้นได้แก่ พระเนื้อผง กรุทัพข้าว จ สุโขทัย รองลงมาก็คือ สมเด็จอรหัง วัดมหาธาตุ พระนคร ซึ่งสร้างโดย สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และพระสมเด็จอรหังนี้ถือเป็นต้นแบบในการสร้างพระเนื้อผง รูปทรงสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก ซึ่งสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อประมาณปี ๒๓๖๐ สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน นี้ ท่านเป็นเกจิอาจารย์ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี เคารพนับถือเป็นอย่างยิ่ง และถือเอาวัตรปฏิบัติ ตลอดจนวิธีการสร้างพระของสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน นี้มาสร้างสมเด็จวัดระฆัง สมเด็จบางขุนพรหม และสมเด็จเกศไชโย อันนับเป็นพระเนื้อผงที่ได้รับความศรัทธานิยมสูงสุดมาโดยตลอด กรรมวิธีการจัดสร้างพระเนื้อผงที่มีมาแต่โบราณกาลนั้น จะมีกรรมวิธีและขั้นตอนหลักๆ ๒ ขั้นตอน ประกอบไปด้วย ๑ การเตรียมวัตถุดิบ เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าเนื้อหามวลสารหลักที่นํามาใช้ในการจัดสร้างพระเนื้อผงได้แก่หรือที่มักจะเรียกกันว่าก็ได้ โดยขั้นตอนของการเตรียมผงปูนขาวนั้น จะนําเอาเปลือกหอยที่จัดเตรียมมานํามาเผาไฟ จากนั้นจะนํามาตําและบดให้ละเอียด จะได้เป็นผงที่ถือว่าเป็นวัตถุดิบหลัก ผงที่ได้จากขั้นตอนนี้เราจะเรียกว่า ผงปูนเปลือกหอย หลังจากนั้นจะทําการจัดเตรียมมวลสารที่เป็นมงคลอื่นที่นํามาเป็นส่วนผสมสําหรับคลุกเคล้ากับผงปูนเปลือหอย อาทิเช่น ว่านดอกไม้ แร่ทรายเงินทรายทอง วัตถดิบศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ ของทนสิทธิ์ เศษพระเครื่องเนื้อดินที่เป็นพระกรุในจังหวัดกําแพงเพชร ตามตํารากล่าวว่าพระสมเด็จ วัดระฆังโฆสิตาราม นั้นท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ท่านได้นําเอาเศษพระกําแพงซุ้มกอ ที่หักนํามาตําและบดผสมในเนื้อพระสมเด็จ วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นต้น ก็จะนําเอามวลสารประกอบดังกล่าวมาตําและบดให้ละเอียดเช่นเดียวกัน เมื่อได้ผงทั้ง ๒ ส่วนแล้ว จะนําเอามาผสมกับผงวิเศษ ๕ ประการ ซึ่งจะขอกล่าวในหัวข้อถัดไป จากนั้นคลุกเคล้ามวลสารต่างๆ ให้เข้ากันดี และนําเอากล้วยน้ําว้า น้ํามันตั้งอิ๊ว น้ําอ้อย ยางไม้ หรือขี้ผึ้งชั้นดี อะไรก็ได้สุดแล้วแต่จะหาได้หรือตามสูตรการสร้างพระเครื่องที่ได้ร่ําเรียนมา เพื่อใช้เป็นตัวยึดประสานเนื้อหามวลสารที่เป็นผงต่างๆ ให้จับตัวรวมกันเป็นก้อน เพื่อสะดวกแก่การนําไปปั้นขึ้นรูป หรือกดกับแม่พิมพ์พระเครื่อง ต่อไป ย้อนกลับมากล่าวถึงการทําผงวิเศษ สําหรับผงวิเศษนี้ เป็นกรรมวิธีการทําที่จะต้องใช้ความมานะอุตสาหะเป็นอย่างยิ่ง เพราะต้องเขียนอักขระเลขยันต์ต่างๆ ลงบนกระดานชนวนและเมื่อสําเร็จก็ลบ แล้วรวบรวมผงที่ลบเสร็จปั้นเป็นก้อนดินสอสําหรับเขียนใหม่ กระทําซ้ําเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าได้จะปริมาณผงวิเศษตามที่ต้องการ ซึ่งพระเกจิอาจารย์ที่ถือว่าเป็นต้นแบบของการเขียนลบผงวิเศษนั้น ได้แก่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ผู้สร้างพระสมเด็จอันสูงค่ายิ่ง ส่วนกรรมวิธีการเขียน-ลบ ผงวิเศษ มีดังต่อไปนี้ การทําผงวิเศษ ขั้นตอนการทําผงวิเศษจะเริ่มจากเรียกสูตร คําว่าก็คือ การเขียนอักขระเลขยันต์ นานาประเภท อันประกอบไปด้วย การบริกรรมสูตรพระคาถาต่างๆ ตามจังหวะของการเขียนอักขระเลขยันต์นั้นๆ ด้วย ดินสอผงวิเศษ ซึ่งดินสอผงวิเศษนี้ถูกสร้างขึ้นมาจากส่วนประกอบของศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ อาทิเช่น ดินโป่ง ๗ ป่า ดินที่มีเกลือสินเธาว์ผุดเกรอะกรัง มีพบอยู่ตามป่าทั่วไป) ดินตีนท่า ๗ ดีนท่า ดินท่าน้ํา ๗ ท่าน้ํา) ดินหลักเมือง ๗ หลักเมือง ขี้ไคลเสมา ขี้ไคลประตูวัง ขี้ไคลเสาตะลุงช้างเผือก ยอดสวาท ยอดรักซ้อน ดอกกาหลง ดอกราชพฤกษ์ น้ํามัน ๗ รส น้ํามันที่ได้จากของ ๗ ประเภท จะเป็นพืชหรือสัตว์ก็ได้ ยิ่งหายากยิ่งดี และดินสอพอง เป็นต้น เอาส่วนผสมทั้งหมดมาผสมรวมกันแล้วบดให้ละเอียด นํามาผสมเจือกับน้ําเพื่อปั้นเป็นแท่งดินสอไว้สําหรับเขียนอักข