1. น้ําหมักมูลค้างคาว+ไตรโคเดอร์ม่า
น้ําหมักมูลค้างคาว ไตรโคเดอร์ม่า ปุ๋ยมูลค้างคาว เป็นที่ได้รับความ ใว้ใจของ ชาวสวน ชาวไร่ แต่พอเป็นน้ําหมัก ทําให้ใช้งานง่าย มี ไตรโคเดอร์ม่า จะได้ประโยชน์ แบบ 2 in 1 บํารุงต้น บํารุงใบ ป้องกันโรคเชื้อรา ใช้ 20cc ต่อน้ํา 1 ลิตร 1 แกลลอน ผสมได้ 50 ลิตร เก็บใว้ที่ร่ม อุณหภูมิ ปกติ วิธีการนําเชื้อที่ขยายแล้วไปใช้ ควบคุมและป้องกัน ต้นไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ ต้นไม้กระถาง เชื้อไตรโคเดอร์ม่าแบบขยาย 10-15 ซีซี ต่อน้ํา 1 ลิตร รดราดทุกวันกรณีโรครุนแรง รดราด ทุก 3 วัน กรณี ควบคุมและป้องกัน ป้องกันกําจัดโรค เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า แบบขยาย 100 ซีซี จุลินทรีย์ปรามโรค 100 ซีซี หรือไม่มีจุลินทรีย์ปรามโรค ก็ไม่ต้องใช้ ให้ผสมต่อน้ํา 20 ลิตร ในกรณีใช้ไม่ถึง 20 ลิตร ให้ลดสัดส่วน ลงตามที่ต้องการ ฉีดพ่นล้างน้ําฝน หลังฝนหยุดทันที หรือ ขณะใบพืชยังคงเปียกอยู่ ก่อนแดดออก จะให้ได้ผลดี ให้ฉีดช่วงเวลาเย็นหลังจากไม่มีแสงแดด หรือรดราด รอบโคนต้นไม้ หรือ ลงแปลงผัก หรือ กระถางปลูก เพราะช่วงเย็น การใช้ เชื้อไตรโคเดอร์ม่าแบบขยาย จะทําให้ เชื้อมีโอกาสได้ขยายตัว อย่างเต็มที่ เขื้อจะตายถ้าถูกแสงแดดจัด หรือ มีความร้อน มากๆ หมักฟาง เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ขยาย 10 ลิตร จุลินทรีย์หน่อกล้วย 10 ลิตร ต่อ พื้นที่ 1 ไร่ หมัก 7 วันจากนั้นฉีดพ่นทับหน้าดินด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า แบบขยาย 20 ลิตร แล้วหมักต่ออีก 7 วัน แล้วทําเทือกได้ (หมายเหตุ ทําเทือกหมายถึง การ ปรับระดับดินในนาข้าวให้เสมอโดยใช้ระดับน้ําในนาข้าวเป็นตัววัดระดับน้ํา เป็น ภูมิปัญญา ของ พี่น้องชาวนา) กําจัดน้ําเน่าเสีย น้ําสนิม โรคเมาตอซัง ใส่เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าแบบขยาย 5 ลิตร จุลินทรีย์หน่อกล้วย 5 ลิตร รวมกันใช้ต่อไร่ ใส่ 2 ครั้ง ห่างกัน 5-7 วัน แช่เมล็ดพันธุ์กระตุ้นการงอก และ กําจัดโรค -แช่เมล็ดพันธุ์ผักผลไม้ 100 กรัม ในน้ํา 200 ซีซี เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าแบบขยาย 1 ซีซี -แช่เมล็ดพันธุ์ข้าว 10 กก ในน้ํา 20 ลิตร เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า แบบขยาย 100 ซีซี ฮอโมนไส้กล้วย 20 ซีซี หมักใว้ 1 คืน ก่อนนํามาบ่มต่อ อีก 24 ชม แล้วนําเมล็ดพันธุ์ข้าว ไป เพาะปลูก เชื้อไตรโคเดอร์ม่า แบบขยาย จะมีอายุการเก็บ 4-5 เดือน หลังจาดน้ัน ปริมาณเชื้อจะค่อยลดลง วิธีเก็บรักษา เปิดฝาระบาย และ ให้อากาศ 2-3 วันต่อครั้ง เก็บในที่ร่ม ไม่ถูกแสงแดด ไม่มีความร้อน ใช้ 3 วันครั้งในกรณี ป้องกันโรค ใช้ทุกวันและเพิ่มปริมาณ 2 เท่า ในกรณี เริ่มมีโรคพืชเกิดขึ้น